กรวย
(cone)
|
รูปทรงใด ๆที่มีฐานเป็นรูปวงกลมหรือวงรีและผิวประกอบด้วยส่วนของเส้นครงซึ่งโยงระหว่างจุดบนเส้นรอบวงของวงกลมหรือวงรีกับจุดคงที่จุดหนึ่งซึ่งไม่อยู่ในระนาบเดียวกับฐาน
|
กราฟของความสัมพันธ์
(graph of a relation)
|
เซตของจุดในระนาบซึ่งแต่ละจุดแทนคู่อันดับในความสัมพันธ์นั้นเช่นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเร็วของวัตถุซึ่งปล่อยให้ตกลงมาในอากาศ (เมื่อไม่คำนึงถึงความต้านทานของอากาศ)กับเวลาอาจเขียนได้ดังนี้
|
กราฟกึ่งลอการิทึม
(semi - logarithm graph)
|
กราฟที่มีมาตราส่วนบนแกนนอนเป็นมาตราส่วนเลขคณิตและบนแกนตั้งเป็นมาตราส่วนลอการิทึม
|
กราฟเชิงซ้อน
(multiple line graph)
|
กราฟแสดงการเปรียบเทียบลักษณะข้อมูลที่สนใจศึกษาตั้งแต่ 2 ลักษณะขึ้นไป
|
กราฟเชิงประกอบ
(composite line graph)
|
กราฟที่ใช้แสดงรายละเอียดหรือส่วนย่อยของข้อมูลที่นำเสนอในช่วงระยะเวลาต่างๆ กัน
|
กราฟดุล
(balance graph)
|
กราฟที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างลักษณะของข้อมูลสองลักษณะที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันเช่น รายรับ รายจ่าย
|
กราฟเส้นเชิงเดียว
(simple line graph)
|
กราฟที่แสดงการเปรียบเทียบลักษณะของข้อมูลที่สนใจศึกษาเพียงลักษณะเดียว
|
กรูป
(group)
|
เซต G และ โอเปอเรชันอย่างหนึ่งพร้อมทั้งคุณสมบัติต่อไปนี้ ให้ *เป็นโอเปอเรชัน
1. คุณสมบัติปิด
2. คุณสมบัติการเปลี่ยนกลุ่มได้
3. เอกลักษณ์มีซึ่งทำให้สำหรับ
4. อินเวอร์สสำหรับสมาชิกแต่ละตัวจะมีซึ่ง
|
|
การกระจายสัมพัทธ์
(relative variation)
|
การวัดการกระจายของข้อมูลแต่ละชุดเพื่อนำไปใช้ในการเปรียบเทียบการกระจายกับข้อมูลชุดอื่นๆ การกระจายสัมพัทธ์มี 4 ชนิดคือ
1. สัมประสิทธิ์ของพิสัย
2. สัมประสิทธิ์ของส่วนเบี่ยงเบนควอร์ไทล์
3. สัมประสิทธิ์ของส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย
4. สัมประสิทธิ์ของการแปรผัน
|
การแจกแจงความถี่
(frequency distribution)
|
รูปแบบการกระจายของความถี่ของค่าจากการสังเกตทั้งหมด
|
การแจงนับอย่างครบถ้วน
(complete enumeration)
|
การเก็บรวบรวมข้อมูลของทุกหน่วยของประชากรที่สนใจศึกษา (ดูสำมะโนประกอบ)
|
การทดลองสุ่ม
(random experiment)
|
การทดลองที่ทราบผลลัพธ์ว่าจะเป็นอะไรได้บ้างแต่ไม่สามารถจะพยากรณ์ผลที่จะเกิดขึ้นในแต่ละครั้งว่าจะเป็นอะไรในบรรดาผลลัพธ์ที่อาจเป็นได้เหล่านั้น
|
การแปรผกผัน
(inverse variation)
|
เมื่อ x และ y แทนปริมาณใด ๆy แปรผกผันกับ x เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์หมายถึงเมื่อ k เป็นค่าคงตัวและ k # 0
|
การแปรผันเกี่ยวเนื่อง
(joint variation)
|
เมื่อ x, y และ z แทนปริมาณใด ๆx แปรผันเกี่ยวเนื่องกับ y และ z แทนด้วยสัญลักษณ์หมายถึงเมื่อ k เป็นค่าคงตัวและ k # 0
|
การแปรผันโดยตรง
(direct variation)
|
เมื่อ x และ y แทนปริมาณใด ๆ y แปรผันโดยตรงเป็น x เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์หมายถึงเมื่อ k เป็นค่าคงตัวและ k # 0
|
การสุ่มตัวอย่าง
(random sampling)
|
การเลือกตัวอย่างสมาชิกของประชากรโดยที่ทุกสมาชิกในกลุ่มมีโอกาสได้รับเลือกเท่าๆ กัน โดยไม่เจาะจง
|
กำลังสอง
(square)
|
กำลังสองของจำนวนจริง x ใด ๆ หมายถึงเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์โดยมี 2 เป็นเลขชี้กำลัง
|
กำลังสองสมบูรณ์
(perfect square)
|
กำลังสองของจำนวนหรือของพหุนาม เช่น
4 เป็นกำลังสองสมบูรณ์ของ 2 และมีค่าเท่ากับ 22
a2 + 2ab + b2 เป็นกำลังสองสมบูรณ์ของ a + b และมีค่าเท่ากับ (a + b)2
|
กึ่งช่วงควอร์ไทล์
(semi - interquartile range)
|
|
แกนจริง, แกนจำนวนจริง
(real axis ,real number axis)
|
แกนนอนของระนาบเชิงซ้อน
|
แกนจินตภาพ
(imaginary axis)
|
แกนตั้งของระนาบเชิงซ้อน
|
แกนวาย
(Y - axix)
|
|
แกนสมมาตร
(axis of symmetry)
|
เส้นตรง L จะเป็นแกนสมมาตรของจุด P และจุด Q เมื่อลากส่วนของเส้นตรง PQ แล้ว L จะแบ่งครึ่งและตั้งได้ฉากกับส่วนของเส้นตรง PQ และในกรณีนี้กล่าวได้ว่าจุด P สมมาตรกับจุด Q
L จะเป็นแกนสมมาตรของส้นโค้ง C หรือรูป A ใด ๆ เมื่อทุก ๆจุดบนเส้นโค้งหรือบนรูปนั้นสมมาตรกันดูภาพประกอบ
รูปที่ 1. เส้นตรง L เป็นแกนสมมาตรของจุด P และ Q
รูปที่ 2. เส้นตรง L เป็นแกนสมมาตรของเส้นโค้ง C
รูปที่ 3. เส้นตรง L และ L' เป็นแกนสมมาตรของรูป A
|
แกนเอกซ์
(X - axis)
|
|